ในอดีตหมอตำแยมักจะรอให้รกคลอดก่อน ค่อยนำทารกและรกออกมาตัดสายสะดือแยกจากกัน ต่างจากปัจจุบันเมื่อทารกคลอดแล้วจะตัดสายสะดือและแยกทารกออกมาก่อนแล้วจึงทำคลอดรก การตัดสายสะดือในสมัยโบราณของไทยจะจะตัดด้วยผิวไม้รวกทำเป็นมีตัด โดยวางสะดือไว้บนไพล ก้อนถ่าน หรืออื่นๆ
แล้วใช้ไม้รวกตัด โดยก่อนตัดจะใช้เชือกผูกเป็น
2 เปราะ ที่ทำเช่นนี้เนื่องจากคนทำคลอดหรือหมอตำแยโบราณยังไม่มีการเรียนรู้เกี่ยวกับการอักเสบหรือติดเชื้อ
เรียกง่ายๆ ว่าทำตามมีตามเกิด พ่อแม่พาทำมาตั้งแต่อดีต จึงไม่ได้ระมัดระวังในเรื่องนี้มากนัก ทำให้การทำคลอดในอดีตส่งผลให้มารดาและทารกแรกเกิดมีการอักเสบติดเชื้อได้มาก การติดเชื้อสำหรับทากรกในอดีตที่พบบ่อยคือ โรคบาดทะยัก
ซึ่งเข้าสู่ทารกจากการตัดสายสะดือโดยไม่ใช้อุปกรณ์ที่สะอาดเพียงพอ ซื่งเรียกการติดเชื้อนี้ว่า บาดทะยักในทารกแรกเกิด (Tetanus
neonatorum)
ประเพณีเกี่ยวกับการตัดสายสะดือในอดีต
Written By สวนฮักเกษตร on วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 | 08:17
Related Articles
If you enjoyed this article just click here, or subscribe to receive more great content just like it.
ป้ายกำกับ:
ประวัติ ความเป็นมา,
แม่และเด็ก
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น